1. สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์ที่ดีภายในโรงเรียน หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติร่วมกับทางโรงเรียน
และหน้าที่ของการเป็นครูเวรประจำวัน
- ได้เรียนรู้การจัดโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในกลุ่มสาระ
- ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน
การควบคุมชั้นเรียนที่ดี
- ได้รู้จักประวัติและภูมิหลังของนักเรียนในความดูแลมากขึ้น ได้ไต่ถามนักเรียนถึงการเรียนและปัญหาต่างๆ ได้อบรมนักเรียนเกี่ยวกับการจัดแถว
การแต่งกาย การลาโรงเรียนหรือการมาสาย
- ได้เรียนรู้งานต่างๆ
สำหรับการเป็นครูที่ปรึกษา การหานักเรียนถือพานในงานวันไหว้ครู
- ได้ทราบหลักการจัดกิจกรรมชุมนุมและวิธีการสอนยุวกาชาดสำหรับนักเรียน
- ได้เรียนรู้การวางแผนการปฏิบัติงานให้ตรงกับโรงเรียน
เรียนรู้วิธีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและการจัดเวลาในการทำกิจกรรม เช่น กีฬาสี
- ได้เรียนรู้วิธีการออกข้อสอบ
การจัดสอบและการคุมสอบให้กับนักเรียน ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน
2. ปัญหา/
อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
- นักเรียนไม่ค่อยทำการบ้าน ดังนั้นจึงใช้วิธีการเช็คชื่อและให้คะแนนคนที่ส่งการบ้าน
เพื่อเป็นการกระตุ้นนักเรียนมากยิ่งขึ้น
- นักเรียนพูดคุยกันเสียงดัง
ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการเช็คชื่อนักเรียนที่คุย เพื่อทำให้นักเรียนลดการพูดคุยกัน
- ในการหารายชื่อผู้ปกครองนั้นค่อนข้างใช้เวลานาน
เพราะนักเรียนจำนวนหนึ่งยังไม่ได้ส่งแบบสำรวจรายบุคคล
ดังนั้นจึงต้องใช้คาบโฮมรูมมารวบรวมรายชื่อ
- ในการจัดกลุ่มของนักเรียนเพื่อทำกิจกรรมค่อนข้างล่าช้า
ดังนั้นจะต้องหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ด้วย
- ในการทำกิจกรรมหน้าเสาธงของนักเรียนใช้เวลานาน
จึงทำให้กินเวลาของคาบสอนและทำให้สอนไม่ทัน ดังนั้นจึงต้องใช้การสั่งงานกลุ่มให้แก่เด็ก
- เนื่องจากนักเรียนไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากนัก
ดังนั้นจึงต้องจัดสอบให้นักเรียนได้ทราบความสามารถของตนเองและพยายามผลักดันตนเองหรือขยันเรียนมากยิ่งขึ้น
- ในการสอบนักเรียนบางคนลอกข้อสอบของเพื่อน
จึงได้มีการตักเตือนและขู่ว่าจะตัดคะแนนสอบ
- นักเรียนส่วนใหญ่สอบได้คะแนนน้อย
ดังนั้นจะต้องมีการปรับปรุงวิธีการสอนใหม่
3. สิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
-
วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน
- วิธีการสร้างความรับผิดชอบให้กับนักเรียน
4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียน/
ครูพี่เลี้ยง/ อาจารย์นิเทศ
จะต้องมีการจัดสอบให้กับนักเรียนเป็นระยะเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
ให้นักเรียนได้ทราบระดับความรู้ความสามารถของตนเอง
เพื่อเป็นแนวทางให้เขาพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น